เจาะประเด็นสำคัญของ TAS 16 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ครั้งที่ 1
ดร.ชลิต ผลอินทร์หอม
กิจกรรมประชุมสัมมนาหลักสูตรการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ เรื่อง “สรุปมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ต้นทุนการกู้ยืม และ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน”
ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกกิจการจะต้องมีรายการ “ที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์” เป็นสินทรัพย์อยู่ในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งใช้ประโยชน์ในการผลิต ในการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้เช่า หรือ เพื่อใช้ในการบริหารงาน โดยการได้มาซึ่งรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ นั้น กิจการอาจได้มาจากการชำระด้วยเงินสด การผ่อนชำระ หรือการกู้ยืมเงินจากกิจการหรือสถาบันการเงินเพื่อมาใช้ชำระค่าสินทรัพย์ดังกล่าว แม้มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และ รายการต้นทุนการกู้ยืมนั้นมีการประกาศใช้มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว แต่นักบัญชีส่วนใหญ่ยังมีคำถามเกี่ยวกับการรับรู้รายการ ส่วนประกอบของราคาทุน การวัดมูลค่า และวิธีปฏิบัติทางการบัญชีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าใช้จ่ายในการทดลองเครื่องจักรสามารถบันทึกเป็น ต้นทุนได้หรือไม่ กิจการสามารถเลือกตีราคาสินทรัพย์ได้หรือไม่ ผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนอะไรบ้างที่สามารถบันทึกรวมเป็นต้นทุนกู้ยืม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เอง ทางสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ จึงเห็นควรให้มีการจัดอบรมให้กับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี นักศึกษา เป็นบุคคลทั่วไป เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและข้อกำหนดต่างๆ ของมาตรฐานรายงานทางการเงินรวมถึงสามารถนำหลักการของมาตรฐานรายงานทางการเงินไปประยุกต์ใช้กับกิจการได้อย่างถูกต้องและอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การอบรมในครั้งนี้ จึงได้รวบรวมประเด็น สำคัญเพื่อให้ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบด้านบัญชีและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้ความเข้าใจในหลักการและข้อกำหนดต่างๆ ของมาตรฐานและประเด็น สำคัญในทางปฏิบัติที่มักพบเจอ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษา ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี และบุคคลที่สนใจ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและข้อกำหนดของมาตรฐานรายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี และเพื่อสร้างความเข้าใจสำหรับประเด็นสำคัญในทางปฏิบัติที่มักพบเจอจากการใช้มาตรฐานการบัญชีเพื่อให้นักศึกษา ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี และบุคคลที่สนใจ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและข้อกำหนดของมาตรฐานรายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี และเพื่อสร้างความเข้าใจสำหรับประเด็นสำคัญในทางปฏิบัติที่มักพบเจอจากการใช้มาตรฐานการบัญชี
รายละเอียดการเก็บชั่วโมง CPD
- สำหรับผู้สอบบัญชี
เก็บเป็นชั่วโมง CPD แบบไม่เป็นทางการ ประเภท “การเข้าร่วมอบรมหรือสัมมนาความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหรือวิชาชีพ” นับได้ตามชั่วโมงการเข้าอบรมหรือสัมมนาจริง
- สำหรับผู้ทำบัญชี
เก็บเป็นชั่วโมง CPD แบบการเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ประเภท “การเข้าร่วมอบรมหรือสัมมนาความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหรือวิชาชีพ” นับได้ตามชั่วโมงการเข้าอบรมหรือสัมมนาจริง
เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่ไม่ได้รับอนุมัติจากสภาวิชาชีพบัญชีแต่เข้าเงื่อนไขเป็นหลักสูตรที่สามารถเก็บเป็นชั่วโมง CPD แบบไม่เป็นทางการสำหรับผู้สอบบัญชี/ ชั่วโมงกิจกรรมอื่นสำหรับผู้ทำบัญชี ดังนั้น หลักสูตรนี้จะไม่มีรหัสหลักสูตร ผู้เข้าสัมมนาสามารถกรอกรายละเอียดชื่อหลักสูตร วัน-เวลา และจำนวนชั่วโมงในหนังสือรับรองเข้าระบบ CPD Online ได้เลย ระบบจะไปคำนวณเป็นชั่วโมง CPD (1.5 ชั่วโมงกิจกรรมอื่น = 1 ชั่วโมง CPD) ให้โดยอัตโนมัติ โดยท่านไม่ต้องคำนวณเอง
เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน หน่วยงานได้นำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรการช่วยเหลือด้านการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) จากสภาวิชาชีพบัญชี มาพร้อมกันด้วยดังนี้
1. เอกสารประกอบความเข้าใจมาตรการช่วยเหลือด้านการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD)
2. รวมคำถามการยื่นชั่วโมง CPD ตามมาตรการช่วยเหลือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้ทำบัญชี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- https://lms.southeast.ac.th/
- อาจารย์ณัฐธยาน์ อธิรัฐจิรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ nattaya@southeast.ac.th โทร. 081-265-4384
- อาจารย์สิริกร ประทุม กลุ่มงานบริการวิชาการสร้างรายได้ silingade@gmail.com โทร.099-226-3664
วิทยากรโดย
- ดร.ชลิต ผลอินทร์หอม
ความเชี่ยวชาญด้านการอบรม
- การจัดการต้นทุนเชิงกลยุทธ์ การออกแบบและวางระบบบัญชี
- โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี ระบบสารสนเทศทางบัญชี Excel เพื่องานบัญชีและงานตรวจสอบ
- การวางแผนและการควบคุมกำไร การบัญชีภาษีอากร ภาษีอากรธุรกิจ ภาษีประกันสังคม
- การควบคุมและการบริหารความเสี่ยง
- มาตรฐานการบัญชี งบการเงินและการจัดทำงบการเงิน
Course Structure
- รายละเอียดการอบรม (Power Point) PDF
กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2564 ระหว่างเวลา 09.00-17.30 น.
ดร.ชลิต ผลอินทร์หอม
ประกอบด้วย
ประกอบด้วย